Cost of Transportation หรือต้นทุนที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการจัดการด้านการขนส่งนั้น สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 4 ประเภท
1. ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost)
เป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงตามปริมาณการขนส่ง ไม่ว่าจะได้มีการผลิตสินค้าเองหรือไม่ โดยต้นทุนนี้จะเกิดขึ้นและมีค่าใช้จ่ายในอัตราเท่าเดิม ไม่ได้มีการผันแปรตามปัจจัยอื่นๆ เช่น ค่าเช่าที่ดิน สถานที่ ค่าประกันภัย ค่าเสื่อมราคา รวมทั้งเงินเดือนของทุกคนในองค์กร ค่าใบอนุญาตต่างๆ เป็นต้น
2. ต้นทุนผันแปร (Variable Cost)
ต้นทุนที่มาความเปลี่ยนแปลงตามปริมาณในการขนส่งแต่ละครั้ง ซึ่งส่วนมากแล้วเมื่อปริมาณในการขนส่งมาก ต้นทุนชนิดนี้ก็จะมากด้วยเช่นกัน หรือถ้าปริมาณการขนส่งน้อย ต้นทุนก็น้อย และถ้าไม่ได้ขนส่งเลยก็ไม่มีต้นทุนในส่วนนี้ ยกตัวอย่างต้นทุนในส่วนนี้ที่เห็นได้ชัด ก็เช่น ค่าน้ำมัน ค่าซ่อมแซมยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง
3. ต้นทุนรวม (Total Cost)
เป็นส่วนที่เอาต้นทุนคงที่และผันแปรรวมกัน ซึ่งในลักษณะนี้จะไม่สามารถแยกได้ออกว่าต้นทุนในการขนส่งสินค้าแต่ละอย่าง แต่ละชนิดนั้นแยกย่อยเป็นเท่าใด เช่น การขนส่งทางรถไฟ
4. ต้นทุนเที่ยวกลับ (Back Haul Cost)
เป็นต้นทุนประเภทที่ได้มีการรวมเอาค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) เข้าไปด้วย เช่น การไปส่งสินค้าที่สถานที่เป้าหมายแล้ว แต่ว่าขากลับนั้นกลับไม่ได้ขนอะไรที่ก่อให้เกิดรายได้กลับมาด้วย ส่วนนี้เองที่ถือเป็นการสูญเปล่าที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นแล้วในการขนส่งแต่ละครั้งก็จำเป็นต้องคำนึงต้นทุนเที่ยวกลับด้วย ซึ่งบางทีนั้นมูลค่าก็ไม่ต่างจากเที่ยวขาไปในส่งสินค้าเช่นกัน
ข้อมูล: https://www.logisticafe.com/