กลยุทธ์การประสานความร่วมมือในธุรกิจขนส่ง

กลยุทธ์การประสานความร่วมมือในธุรกิจขนส่ง

              

            ในปัจจุบัน การประสานความร่วมมือเป็นกลยุทธ์ที่จำเป็นเพื่อความอยู่รอดของกลุ่มผู้ประกอบการขนาดย่อม และกลยุทธ์นี้ยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ในบางระดับของความเชื่อถือถูกมองว่าเป็นปัจจัย

            สำคัญในการวัดความสำเร็จของการประสานความร่วมมือ โดย เริ่มต้นจากการศึกษาความเสี่ยง จะทำให้สามารถพัฒนาความเชื่อมั่นได้อย่างรวดเร็วขึ้น การจัดการโลจิสติกส์มีผลต่อการจัดการงานขนส่งซึ่งมีหลายด้าน เราต้องมองงานเป็นกระบวนการที่มีกิจกรรมต่อเนื่องต้องจัดการให้ข้อมูล สินค้า และการดำเนินงานอย่างไหลลื่น ใช้เวลาสั้นที่สุด ในการปรับปรุงประสิทธิภาพนั้นควรมองทั้งระบบทั้งเครือข่าย กิจกรรมขนส่งอาศัยพลังจากเครือข่ายมากที่สุด เพื่อให้เกิดประโยชน์จากขนาด (Economy of scale) เครือข่ายยิ่งใหญ่เท่าไรยิ่งลดต้นทุนได้เท่านั้น การเป็นเครือข่ายคือพลังสำคัญอย่างหนึ่งถ้ามีแล้วใช้ประโยชน์ได้ก็ลดต้นทุน การขนส่งที่เป็นเที่ยวหาวิธีลดต้นทุนยากมาก แต่ก็เป็นวิธีที่ผู้ประกอบการไทยถนัด

           แต่พอเป็นเครือข่ายจะทำไม่ได้ ทิศทางแนวโน้มผู้ประกอบการขนส่งรายเล็กจะเสียเปรียบรายใหญ่ เนื่องจากรายเล็กวิ่งเป็นเที่ยวๆไม่มีเครือข่ายบริหารเที่ยวกลับไม่ได้ผู้ประกอบการหลายรายภูมิใจกับการเป็นตัวของตัวเองแต่กลับเป็นข้อเสีย เพราะการนำการบริหารแบบเครือข่ายมาใช้คือการสร้างความสามัคคีระหว่างภาคส่วนต่างๆในวงการอุตสาหกรรมขนส่งงานโลจิสติกส์มีความเกี่ยวข้องกับการไหลเวียนของข่าวสารข้อมูลและวัตถุผ่านการบริหารจัดการ ซึ่งการขนส่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักของระบบโลจิสติกส์ อาจกล่าวได้ว่ากิจกรรมการขนส่งคือกิจกรรมที่เป็นตัวเชื่อมผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ในระบบโลจิสติกส์ เพราะเป็นกิจกรรมที่ทำให้สินค้าเกิดการเคลื่อนย้ายขึ้น นอกจากนี้อาจกล่าวได้ว่ากิจกรรมการขนส่งคือกิจกรรมที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า (Place Value) เพราะสินค้าไม่มีการเคลื่อนย้ายไปยังจุดที่มีความต้องการของสินค้าเกิดขึ้น สินค้านั้นก็จะไม่มีคุณค่า

            ขอบเขตของโลจิสติกส์ได้เปลี่ยนไปเมื่อมีการปรากฏขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ และกลยุทธ์พันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อที่จะแข่งขันกันในด้านความยืดหยุ่นและการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ความสำคัญของโลจิสติกส์เพิ่มขึ้น บริษัทต่างๆ ได้พัฒนารูปแบบเข้าสู่การแข่งขันระดับโลก เพื่อที่จะเปิดโอกาสในการเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ในช่วงปีที่ผ่านมา โลจิสติกส์ได้พัฒนาจากการบริหารจัดการทางด้านโลจิสติกส์ด้วยตนเอง (Single-Party Logistic) ไปสู่การเป็นผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์แบบหลายกลุ่ม (SPL or Multiparty) การใช้เครือข่ายโลจิสติกส์ทางอินเตอร์เน็ตเพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้ให้บริการระดับโลก ผู้ให้บริการโลจิสติกส์โดยบุคคลที่ 3 คือ การให้บริการทางด้านโลจิสติกส์แบบผูกพันด้านสัญญและให้บริการเฉพาะในภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์ภายใต้การให้บริการโลจิสติกส์จากภายนอก คือ

  • เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินการ
  • ลดความผันผวนของอุปสงค์
  • ลดการลงทุนเพิ่มเติมในธุรกิจ

            

        การก่อให้เกิดพันธมิตรในโซ่อุปทาน ขั้นตอนแรกบริษัทนั้นควรจะเลือกคู่พันธมิตรของตน โดยพิจารณาจากความสามารถและความสนใจที่จะพัฒนาพันธมิตรของอีกบริษัท เมื่อเลือกคู่พันธมิตรได้แล้วบริษัทควรจะจัดตั้งความสัมพันธ์ที่เรียกว่า พันธมิตรทางยุทธศาสตร์ (Strategic Alliance) ขึ้นมา ซึ่งหมายถึง กระบวนการที่บริษัททั้งคู่ ตกลงที่จะแบ่งสรรข้อมูลลงทุนร่วมกัน และปรับปรุงการทำงานต่างๆ ร่วมกัน (Handfield and Nichals, 1999) ข้อมูลที่คู่พันธมิตรใช้ร่วมกันนั้น ควรจะมีการเปิดเผยและปราศจากความลับระหว่างกัน ข้อมูลดังกล่าวได้แก่ แผนทางธุรกิจ การพยากรณ์ ข้อมูลการขาย ข้อมูลคงคลัง และกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการไหลของผลิตภัณฑ์ จากนั้นในการที่จะพัฒนาไปสู่พันธมิตรทางยุทธศาสตร์มี 3 ขั้นตอนที่ควรจะคำนึงถึงคือ
              1. การก่อให้เกิดความเข้าใจในหลักการ
              2. การเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
              3. การยืนยันความเป็นพันธมิตร
   
      ขั้นตอนแรกคือ ความเข้าใจในหลักการร่วมกันนั้น ถือเป็นขั้นเริ่มต้นที่ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายเข้าใจและเปลี่ยนความคิดต่างๆ มาสู่ความร่วมมือ อุปสรรคที่สำคัญในขั้นตอนนี้คือ การที่แต่ละองค์กรกลัวต่อการเปลี่ยนแปลงหรือยึดติดกับการกระทำแบบเดิมๆ ผู้จัดการควรทำหน้าที่ในการสื่อสารให้เข้าใจกับผู้ใต้บังคับบัญชาเกี่ยวกับเรื่องของพันธมิตร การจัดอบรมอาจจะช่วยแก้ปัญหาได้
  
      ขั้นตอนต่อมาคือ การเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ซึ่งจะเน้นในด้านการให้คำนิยามและความกระจ่างในเรื่องข้อตกลงต่างๆ ร่วมกัน ส่วนนี้มักจะเกิดขึ้นโดยบริษัทที่ริเริ่มพันธมิตรขึ้นก่อนในขั้นตอนนี้ ควรจัดทำเป้าหมายและบทประเมินการทำงานร่วมกันไว้ด้วย โดยมากจะเกี่ยวกับความสามารถในการบริหาร ข้อมูลเบื้องต้นของบริษัท ความสามารถของบุคลากรในบริษัท โครงสร้างต้นทุนระบบข้อมูลในบริษัท
      
    
ขั้นตอนสุดท้ายคือ การยืนยันความเป็นพันธมิตร ในขั้นตอนนี้ ควรจัดทำสัญญาพันธมิตรเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งกล่าวถึงหลักการบริหารร่วมกัน หลักการบริหารความขัดแย้ง การแบ่งผลกำไร และข้อตกลงที่เป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย รวมทั้งการลงทุนทั้งด้านทรัพยากรเครื่องจักรและบุคลากรอีกด้วย นอกเหนือไปจากนี้ คู่พันธมิตรควรจะคำนึงถึงระบบการวัดประเมินผล ซึ่งจะทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายทำงานได้ตรงตามความคาดหวังและเป้าหมายตามที่ตงลงไว้ในสัญญาอีกด้วย
  
      ความสำคัญและประโยชน์อันพึงจะได้รับจากการก่อตั้งพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ ในโลกปัจจุบันการแข่งขันจากภายนอกและการตอบสนองต่อความพอใจของลูกค้าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้องค์กรหนึ่งๆ ประสบความสำเร็จ เพราะฉะนั้น การผลิตผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำสู่ลูกค้าได้ตรงตามความต้องการเป็นสิ่งที่ต้องกระทำ บริษัทหรือองค์กรที่ทำงานแบบโดดเดี่ยว ไม่มีความร่วมมือกับองค์กรอื่น จะพบว่าการตอบสนองความต้องการของลูกค้านั้นเป็นไปได้ยาก การร่วมมือระหว่างองค์กรในเชิงพันธมิตรทางยุทธศาสตร์จะทำให้องค์กรนั้น สามารถรู้ถึงความเป็นไปทั้งโซ่อุปทาน และจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า พร้อมทั้งความสามารถของผู้จัดหาวัตถุดิบได้อย่างดี
 

 

 
ที่มา : www.logisticscorner.com

 2311
ผู้เข้าชม

gps

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์