เทคโนโลยีมีความหมายตามที่ระบุไว้ในสารานุกรมคือ แนวคิดกว้างๆในการนําความรู้และเครื่องทุ่นแรงมาประยุกตใช้เพื่ออํานวยประโยชน์ในการควบคุมหรือปรับสภาพให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม โดยมนุษย์ได้มีการนําเทคโนโลยีมาใช้จะเริ่มจากการแปลงทรัพยากรที่มีอยู่ในธรรมชาติไปเป็นเครื่องมือที่เรียบง่ายในการอํานวยความสะดวกโดยช่วยให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในทางด้านโลจิสติกส์เทคโนโลยีก็เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากจนถือว่าเป็นปัจจัยที่สําคัญที่สุดตัวหนึ่งในการแข่งขัน
เนื่องมาจากความพร้อมของพล้งการประมวลต้นทุนต่ำได้ก่อให้เกิดการพัฒนาการสำคํยในศาสตร์ของการจัดการโลจิสติกส์ ความสามารถในการจัดการข้อมูลประมาณมหาศาลอย่างรวดเร็วและแม่นยำในช่วง 35 ปีที่ผ่านมาได้เปลี่ยนแปลงวิธีการทำธุรกิจเกือบจะเรียกได้ว่าทั้งหมด เทคโนโลยีเหล่านี้ ถูกเรียกซ้ำไปว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง ความสามารถในการส่งข้อมูลร้หว่างคู่ค้าในโซ่อุปทานผ่านทางระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอีเล็คทรอนิคส์ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ ในบริษัทต่างๆ ความสามารถที่ทำให้ฝูงชนสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้เป็นสิ่งทีจุดประกายกระแสการซื้อสินค้าจากบ้านสำนักงาน และยังไม่รวมถึงการใช้อีเมลเป็นหนทางในการสื่อสารกับเพื่อนและเพื่อนร่วมธุรกิจทั่วโลก
ระบบสารสนเทศระบบสื่อสารร่วมกับฮารด์แวร์ที่เกี่ยวข้อง ที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการโซ่อุปทานจะช่วยในหลายบทบาทด้วยกัน อาจจะช่วยเหลือกระบวนการตัดสินใจ ช่วยปฏิบัติการติดตามควบคุมจัดเก็บและประมาลผลข้อมูล และช่วยเหลือในการสื่อสารระหว่างบุคคล บริษัท และ เครื่องจักร
บทบาทของเทคโนโลยีในโซ่อุปทานและโลจิสติกส์
การดําเนินงานในโซ่อุปทานสามารถที่จะแบ่งเป็น 3 กระบวนการสําคัญอันได้แก่
1.กระบวนการจัดซื้อวัสดุ (Sourcing)
2.กระบวนการผลิตสินค้า (Make)
3.กระบวนการจัดส่งสินค้า (Deliver)
โดยในแต่ละกระบวนการนี้มีการดําเนินงานย่อยได้แก่
(1) การตัดสินใจ (Decision)
(2) การส่งต่อข้อมูล(Data and Information)
(3) การขนถ่ายและการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ (Material Handling and Storage) เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในทุกกระบวนการย่อยนี้ (การตัดสินใจ, การส่งต่อข้อมูล, การเคลื่อนย้ายวัสดุ) เริ่มตั้งแต่ในการเคลื่อนย้ายวัสดุเทคโนโลยีที่ใช้ในกระบวนการนี้ได้แก่เทคโนโลยีที่หมายถึงอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายวัสดุนอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องมือทื่ใช้ในการติดตามและบ่งบอกสถานะของวัสดุไปจนถึงผลิตภัณฑ์สําเร็จ ในกระบวนการต่อมาคือกระบวนการส่งต่อข้อมูลต่างๆ เทคโนโลยีที่ใช้ในกระบวนการนี้คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารและเชื่อมโยงส่วนต่างๆขององค์กรโดยการใช้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนช่วย ซึ่งถูกเรียกโดยรวมว่าTransactional information technology อันได้แก่ ระบบ ERP, EDI, XML และสุดท้ายคือเทคโนโลยีที่ใช้ช่วยประกอบการตัดสินใจเพื่อให้ตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและสําเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ได้แก่ระบบAPS (Analytical Planning and Scheduling)
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเคลื่อนย้ายวัสดุและผลิตภัณฑ์
ประเภทของอุปกรณ์จัดเก็บและขนถ่ายที่มีใช้สําหรับสินค้าที่อยู่บนแพลเล็ต
1 การเคลื่อนย้ายแพลเล็ต
2 ระบบจัดเก็บและหยิบเลือกอัตโนมัติ
3 เทคโนโลยีในการบ่งบอกและติดตามสินค้า
- บาร์โค้ด
- RFID
- GPS
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการไหลของข้อมูลสารสนเทศมีด้วยกัน 4 ระบบดังนี้
1. ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอีเลคโทรนิคส์ (EDI)
2. ระบบสารสนเทศทั่วทั้งองค์กร (ERP)
3. ระบบจุดขายทางอีเล็คทรอนิคส์ (EPOS)
4. ระบบการค้าทางอีเล็คทรอนิคส์ (E-Commerce)
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในกิจกรรมการตัดสินใจและวางแผนเชิงโลจิสติกส์
ระบบจัดการโซ่อุปทานโดยทั่วไปแล้วจะเป็นเครื่องมือสนับสนุนและวางแผนปฏิบัติการระบบเหล่านี้จะช่วยให้บริษัทวางแผนและจัดการปฏิบัติการลอจิสติ์กสผ่านทางการใช้ชุดซอฟต์แวร์ที่บูรณาการอยู่ทั่วทั้งระบบ ซึ่งช่วยให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ในทางโลจิสติกส์เทคโนโลยีก็เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากจนถือว่าเป็นปัจจัยที่สําคัญที่สุดตัวหนึ่งในการแข่งขัน โดยแบ่งตามกระบวนการได้ 6 ระบบดังนี้
1. ระบบการวางแผนและการจัดตารางอย่างก้าวหน้า (APS)
2. ระบบการวางยุทธศาสตร์เครือข่ายโซ่อุปทาน
3. ระบบการจัดการคลังสินค้า
4. ระบบพยากรณ์และจัดการคลังสินค้า
5. ระบบการวางแผนและควบคุมการผลิต
6. ระบบการวางแผนการขนส่งและการกระจายสินค้า
ที่มา : โครงการภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน SMEs Projects
http://logisticscorner.com/index.php?option=com_content&view=article&id=494:2009-07-12-16-22-10&catid=43:technologies&Itemid=91