เพื่อเป็นการตอบสนองกับความต้องการของลูกค้าอย่างทันท่วงที จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้บริษัทที่ทำหน้าที่ในการจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้า จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการขนส่งของตัวเอง เช่น การพัฒนาเพื่อลดเวลาในการขนส่ง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย หรือเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการขนส่งมากยิ่งขึ้น ซึ่งการขนส่งแบบ Just in Time ก็ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการพัฒนารูปแบบการขนส่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น
Just in Time เป็นแนวความคิดที่เกี่ยวกับระบบการผลิตของญี่ปุ่น โดยถูกนำไปพัฒนาโดยบริษัท Toyota ซึ่งได้รับความสนใจและเป็นที่ยอมรับจากผู้ประกอบการทั่วโลก Just in Time โดยในที่นี้จะขอกล่าวถึงการนำหลักการของ Just in Time มาใช้ในเรื่องของการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้า โดยการที่บริษัทจะนำ Just in Time เข้าไปประยุกต์ใช้กับระบบในการทำงานที่เป็นอยู่ให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งระบบการทำงานแบบ Just in Time ถือเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนการทำงานแบบ Lean ที่มุ่งเน้นในการระบุและขจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เพื่อส่งมอบสินค้าตามที่ลูกค้าต้องการและทันเวลา หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า ความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นนั้นเป็นตัวการที่ทำให้ระยะเวลาในการทำงานยาวนานขึ้นและควรมีเทคนิคในการทำงานต่างๆที่สามารถนำมาขจัดความสูญเปล่านั้นออกไปได้ ดังนั้นบริษัทควรให้ความสำคัญในเรื่องของการขจัดความสูญเปล่า (Muda) การปรับปรุงในส่วนของการใช้พนักงานหรือเครื่องจักรที่มากเกินไป (Muri) และ การปรับปรุงความไม่สม่ำเสมอในการทำงาน (Mura)