GPS : GLOBAL POSITIONING SYSTEM

GPS : GLOBAL POSITIONING SYSTEM

    
       GPS (Global Positioning System) หรือ ระบบบอกพิกัดผ่านทางดาวเทียม  จัดอยู่ในประเภท Indirect Active Safety Innovation โดยมีส่วนประกอบหลักๆของระบบแบ่งเป็น 3ส่วนใหญ่ คือ ดาวเทียม ตัวรับ สัญญาณ และแผนที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานร่วมกับระบบควบคุมการเดินรถ (Fleet Management System) ทั้งตัวรถโดยสาร รถบรรทุกสินค้า รถขนเงิน ฯลฯ ทำให้สามารถตรวจสอบเส้นทางการเดินรถ และติดตามรถที่ต้องการได้อย่างอัตโนมัติ

     

        ระบบGPS ประกอบไปด้วยดาวเทียมทั้งหมด 27 ตัว แต่ขณะใช้งานใช้แค่ 3 ตัว ดาวเทียมเหล่านี้จะคอยส่งสัญญาณบอกลงมาอยู่ตลอดเวลาว่ากำลังอยู่พิกัดใด โดยอาศัยหลักของความเร็วของคลื่นไฟฟ้า ในขณะเดียวกันเครื่องรับสัญญาณจะรับสัญญาณที่ส่งมาจากดาวเทียม เครื่องจะรับข้อมูลเอามาคำนวณระยะทางเพื่อหาพิกัดของตัวเอง แล้วเครื่องรับสัญญาณจะแสดงพิกัดของรถออกมาในรูปของแผนที่อีกที
      
       สำหรับ GPS Tracking มีอรรถประโยชน์มากมายทั้งด้านความปลอดภัย และบริหารรถบรรทุก เช่น ควบคุมค่าใช้จ่าย สำรวจพฤติกรรมของผู้ขับ เพิ่มความปลอดภัยในทรัพย์สิน บริหารการทำงานของรถได้ดียิ่งขึ้น โดยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการไม่สูงเกินไปและสามารถติดตั้งได้กับรถทุกคัน ไม่ต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีของรถแต่คัน

     
     หลักการทำงานของ GDP Tracking System นั้น จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ติดตามรถยนต์ (Black Box) ที่ยานพาหนะ โดยอุปกรณ์จะรับสัญญาณจากดาวเทียม GDP เพื่อหาตำแหน่งพิกัดของรถ จากนั้นข้อมูลจะถูกประมวลผลและส่งผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในรูปแบบ GPRS ไปยังคอมพิวเตอร์ของศูนย์ผู้ให้บริการ ตำแหน่งและข้อมูลต่างๆ จะถูกประมวลผลก่อนส่งตอไปแสดงผลบนแผนที่ดิจิทัลที่คอมพิวเตอร์ของผู้รับบริการ โดยตำแหน่งและสถานภาพของรถยนต์จะแสดงในรูปแบบภาพหรือสัญลักษณ์ ซึ่งระบบสามารถทำรายงานแสดงข้อมูลสำคัญตามที่ผู้รับบริการต้องการได้อีกด้วย   

     การแสดงผลของ GDP Tracking System สามารถแบ่งการทำงานได้ 2 ระบบ ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ คือการแสดงผลที่เครื่องผู้ใช้งาน ซึ่งจะต้องติดตั้งโปรแกรมของผู้ใช้บริการโปรแกรมจะบันทึกข้อมูลโดยอัตโนมัติ ผู้ใช้งานสามารถดูย้อนหลังได้ และการแสดงผลผ่าน Web Side ของผู้ใช้บริการโดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม ซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ว่าจ้างขนส่ง ว่าสินค้าของตนนั้นเดินทางถึงไหนแล้ว ช่วยเพิ่มความมั่นใจในประสิทธิภาพการขนส่ง แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ว่าจ้างขนส่งจะโทรศัพท์สอบถามการดำเนินงานของรถบรรทุกจากผู้ประกอบการเองมากกว่า

            GDP Tracking System มี 2 รูปแบบ คือ แบบNon-Real time หรือแบบOff-line
ทำงานโดยใช้อุปกรณ์ GDP หรือ Black- Box ที่ติดอยู่กับยานพาหนะ จะรับ
สัญญาณดาวเทียมและแปลสัญญาณออกมาเป็นค่าพิกัด ตำแหน่ง เวลา และความเร็วในระหว่างการเดินทาง เครื่องบันทึกข้อมูลจะอ่านข้อมูลนำมาการประมวลผลและบันทึกข้อมูลไว้ เมื่อยานพาหนะกลับมาที่บริษัทแล้ว ข้อมูลในอุปกรณ์ติดรถจะถ่ายขึ้นบนคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บไว้ตรวจสอบต่อไป แบบ Real time หรือแบบ On-line เป็นระบบที่ติดตามและตรวจสอบตำแน่งของรถในขณะที่รถกำลังปฏิบัติงานได้ โดยแสดงตำแหน่งรถบนแผนที่ด้วโปรแกรมที่ติดตั้งไว้กับศูนย์ควบคุม เมื่อต้องการทราบตำแหน่งของรถก็สามารถเรียกดูข้อมูลผ่านเครือโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปยังเครื่องบันทึกข้อมูลในตัวรถ อุปกรณ์ที่รถจะส่งข้อมูตอบกลับมาที่ศูนย์ด้วยข้อมูลของตำแหน่งรถและข้อมูลอื่นๆ บนแผนที่ทันที

            ข้อมูลในเครื่องบันทึกของรถทั้งระบบ Real time และแบบ Non-Real time จะถูกวิเคราะห์โดยโปรแกรม ซึ่งจะให้ผลการวิเคราะห์เป็นรายงานต่างๆ ทั้งข้อความ รูปภาพ กราฟ และสามารถแปลงให้อยู่ในรูปแบบ Excel ได้ ดังนี้
   
           1. รายงานเดินรถประจำวัน และรายเดือน
           2. รายงานใช้ความเร็วการใช้งานรถ และการใช้ความเร็วเกินพิกัด
           3. รายงานเวลาจอดรถติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้
           4. รายงานปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ไป
           5. รายงานการเข้า-ออก สถานที่ที่กำหนด
           6. รายงานพฤติกรรมการใช้รถ
           7. รูปภาพแสดงเส้นทางการเดินทางและจุดจอดบนแผนที่
           8. รายงานแสงข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง
    

  
     ประโยชน์ที่ได้จากระบบ GPS Tracking

   
   
          เพิ่มประสิทธิภาพระบบงานขนส่งและบริหารยานพาหนะ ใช้ประกอบการตัดสินใจสมารถควบคุม ติตาม สั่งการ และ

           แก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที
          ลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ ควบคุมค่าใช้จ่ายการได้ทั้งค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และค้าซ่อมบำรุง สามารถควบคุมความเร็ว 
           การใช้เครื่องยนต์ รวมทั้งวางแผนการซ่อมบำรุงด้วย
          ควบคุมตารางเวลาในการขนส่ง ช่วยส่งสิน้าได้ถูกต้องและทันเวลา ควบคุมการใช้เส้นทาง สามารถบอกลูกค้าได้ว่า
            รถอยู่ที่ไหน ถึงเมื่อไร และลดค่าแรงล่วงหน้าพนักงาน
          เพิ่มความปลอดภัยในการขนส่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่เสียหายมากทั้งสูญเสียทรัพย์สินและชื่อเสียง ช่วยควบคุมการขับรถ
           ไม่ให้ขับเร็วเกินไปหรือมีพฤติกรรมขับรถที่อันตราย
          เพิ่มภาพพจน์ของบริษัท ช่วยสร้างความมั่นใจและไว้วางใจการให้บริการลูกค้า

    
ข้อดีข้อเสียจากผู้ประกอบการขนส่งสินค้า

        บริษัทผู้ประกอบการขนส่งสินค้าที่นำระบบเทคโนโลยี GPS มาใช้นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ เนื่องจากช่วงแรกๆที่เทคโนโลยีตัวนี้เข้ามาในประเทศไทยนั้น มีราคาอุปกรณ์สูงมาก เมื่อพิจารณาดูแล้วจะไม่คุ้มค่า ทั้งนี้จะพิจารณาจากมูลค่าของสินค้าที่อยู่บนรถขนส่ง แต่ในปัจจุบัน บริษัทต่างๆก็เริ่มนิยมนำระบบ GPS มาใช้กับรถขนส่งของตน เนื่องจากสินค้าที่ส่งนั้น มีมูลค่าสูง เช่น รถขนเงินสด รถขนทองคำเครื่องประดับของมีค่าต่างๆ เมื่อเริ่มนิยมนำมาใช้กันแพร่หลาย ราคาค่าตัวของระบบ GPS จึงมีราคาไม่แพง ซึ่งมีราคาชุดละประมาณหนึ่งหมื่นสามพันบาทต่อการติดตั้งรถหนึ่งคัน และต้องเสียค่าบริการ GPRS ในการรับส่งข้อมูลกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตกประมาณเดือนละห้าร้อยบาท  ซึ่งเริ่มแรกผู้ประกอบที่ได้ให้ข้อมูลนั้นไม่ได้นำมาติดตั้งทุกคัน แต่จะเริ่มจากทดลองติดตั้งประมาณ 5 คัน ซึ่งก็เห็นประโยชน์ดังนี้

  • ในแง่ของการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายจากการเดินรถ ซึ่งเกิดจากการประหยัดค่าน้ำมัน และลดค่าใช้จ่ายจากการซ่อมบำรุง อันเนื่องมาจากการออกนอกเส้นทาง , การติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ , การขับรถเร็วซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงสามารถตรวจสอบในเรื่องของการลักลอบดูดน้ำมันขาย ของพนักงานขับรถ 
  • ป้องกันการนำรถไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ก็จะช่วยในการลดพฤติกรรมการใช้งานรถที่ไม่เหมาะสม เช่น การหยุดพักที่นานเกินควร , การจอดรถติดเครื่องเป็นระยะเวลานาน เพราะข้อมูลเหล่านี้เราจะเห็นแบบนาทีต่อนาที
  • เป็นการเพิ่มความปลอดภัยในทรัพย์สิน ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ จากการใช้ความเร็วที่ไม่เหมาะสม 
  • บริหารเวลาการทำงานของรถได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ใช้งานรถได้เต็มประสิทธิภาพ เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเดินรถให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถประมาณเวลาในการเดินทางได้
  • สามารถตรวจสอบคุณภาพการจัดส่งได้ตลอดเวลา จะขอยกตัวอย่างของ อุปกรณ์วัดอุณหภูมิในห้องเย็น ทำให้สินค้าที่ลูกค้าได้รับจึงมีคุณภาพสูง โดยเราได้ทดลองกับรถแช่อาหารทะเลแข็ง
  • เพิ่มคุณภาพในการบริการลูกค้า และการแข่งขันทางธุรกิจ ลูกค้าส่วนใหญ่จะรู้สึกดีเพราะสามารถติดตามการขนส่งสินค้าได้ตลอด สามารถตอบคำถามลูกค้าได้
     ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นข้อมูลจากผู้ประกอบการขนส่งสินค้า ซึ่งได้มีการเสริมต่อในเรื่องของการบริการในอนาคตที่จะทำหน้าเว็บไซต์ให้ลูกค้าสามารถเข้ามาตรวจสอบการเดินทางของสินค้าได้ทุกที่ทุกเวลา

     สำหรับข้อเสียของระบบ GPS นั้น ผู้ประกอบการก็จะพูดเป็นเสียงเดียวกันครับว่า ระบบยังมีราคาสูงอยู่ เนื่องจากผู้ประกอบการบางรายยังไม่เห็นประโยชน์ที่ชี้วัดได้ ผมอยากจะยกตัวอย่างของผู้ประกอบการที่ทำให้ เห็นถึงความคุ้มค่าก่อนและหลังติด GPS นะครับ เริ่มจากก่อนหน้าที่จะนำระบบ GPS มาติดตั้งนั้น รถขนส่งสินค้ามักจะเกิดอุบัติเหตุ รวมมูลค่าเสียหายต่อปีประมาณ 3 ล้าน บาท เมื่อได้ทดลองนำระบบ GPS มาติดตั้งเพื่อใช้ควบคุมเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร จัดการทำให้อุบัติเหตุลดลงซึ่งมูลค่าเสียหายต่อปีที่เกิดขึ้น เมื่อสิ้นปี 2552 ประมาณ 1 ล้านบาท ทำให้บริษัทลดต้นทุนที่สูญเสียไปดังกล่าวได้มาก เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับตัวอย่างที่จะทำให้ผู้อ่านได้เห็นภาพนะครับ อีกอย่างก็คือ ข้อเสียในเรื่องบางพื้นที่ยังขาดสัญญาณทำให้ระบบทำงานขาดตอน ไม่ต่อเนื่องสำหรับสิ่งที่จะต้องมีการปรับปรุงเพิ่มเติมนั้น ผู้ประกอบการอยากจะให้ภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ  หรือผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้นำระบบ GPS มาปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นซอฟต์แวร์ฟรี และมีการพัฒนาแผนที่ ให้ละเอียดกว่าเดิม เพื่อที่จะทำให้ราคาของชุดติดตั้ง GPS มีราคาถูกลง และอยากให้ผู้ให้บริการ GPRS จากระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมพื้นที่ให้มากขึ้นและขยายช่องทางการสื่อสารให้มากกว่าเดิมเพื่อให้การรับ-ส่งข้อมูลทำได้เร็วขึ้น

 



ข้อมูลจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสต
ที่มา : Transport Journal 28 ธ.ค. 52, http://www.tech-faq.com/gps.shtml

 4254
ผู้เข้าชม

gps

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์