Logistics Management

Logistics Management

39 รายการ
จากการวิเคราะห์ทางด้านการเงินของบริษัทที่มีผลการประกอบการดีที่สุดในทุกภาคส่วนนั้น แสดงให้เห็นว่าบริษัทที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการขนส่งนั้นมีผลประกอบการค่อนข้างต่ำ ในแง่ของการเติบโตทางรายได้ ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะลงทุนในด้านทรัพย์สินใหม่ๆสูงขึ้นไปอีก เช่น การใช้โซลูชันทางด้านดิจิทัลใหม่ๆ ที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้ในการแก้ปัญหาทั้งหมด ดังนั้นเพื่อปลดล็อคการเติบโตในภาคธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งเช่นนี้ บริษัทที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการขนส่งจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์สำหรับอนาคต และตรงนี้จะมาสรุป 6 กลยุทธ์ ที่จะสร้างโอกาสที่แตกต่างสำหรับบริษัทที่ประกอบกิจการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ เพื่อให้มีโอกาสในการแข่งขันและโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจมากขึ้น
การท่าเรือแห่งประเทศไทยพัฒนาระบบ e-Matching ผ่านระบบการเชื่อมโยงของการท่าเรือไทยกับกรมศุลกากร เพื่อลดขั้นตอนทางด้านเอกสารและยกเลิกเอกสารใบกำกับการเคลื่อนย้ายตู้สินค้า และแบบขอนำสินค้าขาออกผ่านเข้าเขตรั้วศุลกากร โดยการท่าเรือแห่งประเทศไทยจะอำนวยความสะดวกให้กับผู้ส่งออก และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์กับต่างประเทศให้มากขึ้น
รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่าผู้ประกอบการในไทยต้องเร่งปรับตัวพัฒนาประสิทธิภาพ เพื่อสร้างโอกาสให้ไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียน และเข้าไปเชื่อมโยงเส้นทางสายไหมใหม่หรือ “วันเบลท์วันโรด” ของจีน เพื่อเชื่อมโยงผู้ประกอบการจากประเทศต่างๆ ให้ตอบรับสู่ยุคธุรกิจดิจิทัล เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง(SMEs) ผู้เริ่มต้นธุรกิจ(Startup) มีต้นทุนที่ลดลง แต่สามารถกระจายธุรกิจออกไปได้กว้างขึ้น
การเปิดเส้นทางทางการค้าและการสร้างประสิทธิภาพสูงสุดในด้านโลจิสติกส์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน ที่ต่างต้องการใช้งานให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด ซึ่งจะเป็นการปรับเปลี่ยนให้ “ได้ดั่งใจ” ของลูกค้า หรือ “As I Wish” และเป็นแนวโน้มใหม่ในภาพอุตสาหกรรมที่แต่เดิมจะเน้นไปที่ด้านการผลิตและตัวสินค้า ให้ปรับไปมุ่งเน้นไปอุตสาหกรรมที่เป็นด้านการบริการด้วย และนอกจากนี้แล้วผู้ใช้งานในบริษัทต่างๆยังต้องปรับยุทธศาสตร์ใหม่ๆให้สามารถเผชิญกับแรงกดดันจากต้นทุนที่สูงขึ้นด้วย
ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้เทคโนโลยีโลจิสติกส์เข้ามามีส่วนกับธุรกิจแทบทุกประเภท ทำให้การขนส่งสินค้าหรือบริการต่างๆเพื่อไปยังผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไปมากเช่นกัน เพราะโลจิสติกส์เปรียบเสมือนหัวใจหลักของทุกกอุตสาหกรรม แน่นอนว่าต้องมีเรื่องที่น่าจับตามองกับโลจิสติกส์ที่กำลังพัฒนาไปเรื่อยๆ
กระทรวงแรงงานเปิดเผยว่ากรมพัฒนาฝีมือ กระทรวงแรงงาน ได้ร่วมกับเครือข่ายพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดทำแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ปี 2560-2564 เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคน 20 ปี ของกระทรวงแรงงาน ประกอบด้วย 1.พัฒนาศักยภาพบุคลากรโลจิสติกส์ให้มีมาตรฐานสู่ความเป็นเลิศ 2.ปรับระบบบริหารการพัฒนาบุคลากรให้มาตรฐานระดับสากล 3.พัฒนาเครือข่ายและกลไกความร่วมมือพัฒนาบุคลากรโลจิกติกส์

gps

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์