6 ก้าวสำคัญ ที่ผลักดัน Logistics ไปข้างหน้า

6 ก้าวสำคัญ ที่ผลักดัน Logistics ไปข้างหน้า

ภาพ: http://www.vanmeegen.com/ 

            จากการวิเคราะห์ทางด้านการเงินของบริษัทที่มีผลการประกอบการดีที่สุดในทุกภาคส่วนนั้น แสดงให้เห็นว่าบริษัทที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการขนส่งนั้นมีผลประกอบการค่อนข้างต่ำ ในแง่ของการเติบโตทางรายได้ ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะลงทุนในด้านทรัพย์สินใหม่ๆสูงขึ้นไปอีก เช่น การใช้โซลูชันทางด้านดิจิทัลใหม่ๆ ที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้ในการแก้ปัญหาทั้งหมด ดังนั้นเพื่อปลดล็อคการเติบโตในภาคธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งเช่นนี้ บริษัทที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการขนส่งจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์สำหรับอนาคต และตรงนี้จะมาสรุป 6 กลยุทธ์ ที่จะสร้างโอกาสที่แตกต่างสำหรับบริษัทที่ประกอบกิจการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ เพื่อให้มีโอกาสในการแข่งขันและโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจมากขึ้น

1. การเปลี่ยนจากการใช้คนขับรถ เป็นระบบขับขี่แบบอัตโนมัติ

            ระบบการขับขี่แบบอัตโนมัติหรือที่เรียกว่าการขับขี่แบบไร้ขนขับนั้นจะมาแทนในการใช้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับรถบรรทุกก่อน สำหรับบริษัทที่ให้บริการในด้านการขนส่งและโลจิสติกส์นั้น ระบบขับขี่แบบอัตโนมัตินี้จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพบนท้องถนน ในขณะเดียวกันก็เป็นการลดความต้องการในการใช้แรงงานลงไปด้วยอย่างมาก ทางด้านของ Mercedes-Benz ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ชื่อดัง ได้มีการออกแบบรถบรรทุกที่คาดหวังว่าจะใช้จริงในปี 2025 ซึ่งติดตั้งระบบนำทางอัตโนมัติและจะนำมาใช้สำหรับการขนส่งในยุโรป และยังเป็นที่คาดหวังอีกว่าการขนส่งทางบกของรถที่สามารถขับได้เองโดยอัตโนมัติ จะเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่า ในปี 2050 ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีมากในการเติมโตของอุตสาหกรรมต่างๆอีกด้วย

2. เปลี่ยนจากการขนส่งอย่างเร่งด่วน ไปสู่การขนส่งตามที่ต้องการ

            โซลูชันในการขนส่งใหม่ๆ เช่น การใช้โดรนจะเป็นอีกโอกาสในรูปแบบการขนส่งแบบใหม่ บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon ได้มีการทดลองใช้โดรนในการส่งสินค้าบ้างแล้ว ซึ่งในการขนส่งแต่ละครั้งจะใช้เวลาราวๆ 30 นาทีเท่านั้นเอง นี่ทำให้การส่งสินค้าบางประเภทในบางพื้นที่มีความรวดเร็วขึ้น โดยพื้นที่ที่บริเวณโดยรอบของพื้นที่ยากต่อการใช้รถเข้าไปส่งสินค้า หรือเมืองใหญ่ๆที่การจราจรหนาแน่นทำให้ยากต่อการใช้รถในการขนส่งเช่นกัน ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่การใช้โดรนในการขนส่งสินค้านั้น มีความเหมาะสมอย่างมาก

3. จากการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพ ไปจนถึงคลังสินค้าอัจฉริยะ

            การเพิ่มขึ้นของแอปพลิเคชันในการรวบรวมข้อมูลต่างๆนั้น จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการเลือกและการประมวลผลของข้อมูลดิจิทัลที่ถูกเก็บไว้ ตัวอย่างเช่น การสแกนที่ผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่อเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล และเมื่อนำข้อมูลดิจิทัลเหล่านั้นมาประมวลผลและหาโซลูชันในการใช้งานใหม่ๆ จะทำให้การจัดการมีความต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพมากขึ้น และส่งผลไปถึงการใช้งานในด้านโลจิกติกส์ด้วยอีกทาง

4. จากระบบปิด สู่ระบบเปิด

            การเพิ่มขึ้นของระบบคมนาคมที่มีการร่วมมือกันของหลายๆภาคส่วน จะทำให้เกิดการเตรียมตัวขององค์กรและบริษัทต่างๆ ที่จะมีการเปิดระบบการขนส่งเพื่อร่วมมือกับส่วนอื่นๆมากขึ้น บริษัทอย่าง Uber ก็กำลังเขย่าตลาดด้วยโซลูชันด้านโลจิสติกส์ที่เรียกว่า UberRush ซึ่งจะทำให้คนขับรถนั้นเปลี่ยนไปเป็นการจัดส่งสินค้าตามที่ต้องการได้ด้วย การร่วมมือในส่วนต่างๆนี้ จะเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับบริษัทที่ประกอบกิจการด้านการขนส่ง ซึ่งธุรกิจแบบดั้งเดิมก็จำเป็นต้องมองหาโซลูชันใหม่ๆเพื่อมาใช้แทนที่ระบบเดิม ให้สามารถเพิ่มคู่ค้าทางธุรกิจ เข้าสู่ตลาดใหม่ๆ และเพิ่มการแข่งขันด้วย

5. มุ่งเน้นเส้นทางต่อเส้นทาง

            เมืองใหญ่ๆทั่วโลก มหานครทั่วโลก กำลังเพิ่มและขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยที่พื้นที่ที่ห่างออกมานั้นอาจจะยังไม่ได้พัฒนาตามไปด้วย ซึ่งความท้าทายของบริษัทขนส่งต่างๆคือ การคาดการณ์และปรับให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมทางด้านภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ สภาพอากาศ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เนื่องด้วยความซับซ้อนของกลไกตามตลาดทั่วโลก ทำให้บริษัทเกี่ยวกับการขนส่งจะต้องตัดสินใจว่าจะลงทุนและทำอย่างไร บริษัทอย่าง FedEx ได้คาดการณ์ถึงบริษัท e-commerce ทั่วโลกไว้แล้วล่วงหน้า จึงได้ซื้อกิจการของ Bongo และ TNT Express ในปี 2015 เพื่อขยายการลงทุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป และลดต้นทุนการให้บริการในตลาดเหล่านี้ด้วยการเพิ่มความหนาแน่นในการดำเนินงาน ซึ่งโอกาสในการเติบโตก็คือการหาโซลูชันมานำเสนอให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด และการจัดการกับผลการตอบแทนของการลงทุนที่ได้

6. จากการจัดการแบบลีน ไปจนถึงการจัดการแบบคล่องตัว

            การจัดการแบบคล่องตัว (Agile Management) นั้นเป็นอีกขั้นของการจัดการแบบลีน (Lean Management) บริษัทเกี่ยวกับการขนส่งและโลจิสติกส์นั้นจะมีความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพและการจัดการแบบลีนที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพ แต่เพิ่มปัจจัยด้านอุปสงค์เข้าไปในตลาดพร้อมกับความแตกต่างและความซับซ้อนที่ต้องใช้ความยืดหยุ่นมากขึ้น จะเห็นได้จากการเติบโตของธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น UPS, FedEX, DHL จะเป็นการบริการด้านพื้นฐานและจัดการโดยทีมงานภาคพื้นเป็นหลัก ซึ่งทำให้มุมมองจากภายนอกมองมาในบริษัทว่าสามารถเข้าถึงได้ง่ายและดีที่สุด ตัวอย่างเช่น บริษัท Lenovo ได้แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างองค์กรที่เป็นการบริหารแบบกระจายนั้น สามารถผลักดันการเติบโตภายในตลาดของยุคนี้ได้อย่างไร ด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ตั้งแต่สมาร์ทโฟนไปจนถึงเซิฟเวอร์ บริษัท Lenovo นั้นได้พัฒนาแบรนด์ย่อยที่แข็งแกร่งและมีหน่วยธุรกิจที่มีขีดความสามารถในการบริหารตัวเองไปด้วย

การจัดการแบบคล่องแคล่วนี้เอง ถือเป็นการตัดสินใจอย่างรวดเร็วในสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ตามความต้องการที่เกิดขึ้นจริง ได้รับการสนับสนุนจากเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกี่ยวข้องและเหมาะสม

ข้อมูล: https://www.interbrand.com/

 1045
ผู้เข้าชม

gps

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์