เทคโนโลยีในอนาคตของ GPS และการระบุตำแหน่งที่แม่นยำขึ้น

เทคโนโลยีในอนาคตของ GPS และการระบุตำแหน่งที่แม่นยำขึ้น

            ปัจจุบันนี้มีการเทคโนโลยีสำหรับระบุตำแหน่งอยู่ 2 ประเภท ซึ่งก็คือ Global Navigation Satellite System (GNSS) และ Global Positioning System (GPS) ซึ่งการใช้งานของเทคโนโลยีทั้ง 2 ประเภทนี้ จะสามารถตอบสนองความต้องการของทั้งบุคคลและองค์กรขนาดใหญ่ได้ แต่ก็ยังมีบางครั้งที่การระบุตำแหน่งผิดเพี้ยนไป ทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ อีกทั้งยังเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้ไม่หวังดีที่ต้องการจะแทรกแซงการระบุตำแหน่ง และเจตนาให้การทำงานที่ผิดเพี้ยนในการระบุตำแหน่งนั้นส่งผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมด้านอื่นๆ

GPS ในสมาร์ทโฟน

            หนึ่งในวิธีการนำทางที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน คือ การใช้จีพีเอสที่ติดตั้งมาพร้อมกับสมาร์ทโพน โดยสมาร์ทโฟนแต่ละเครื่องจำเป็นต้องได้รับสัญญาณจีพีเอสจากดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง จากทั้งหมด 24 ดวง ที่โคจรอยู่รอบโลก สมาร์ทโฟนนั้นจะถอดรหัสจากสัญญาณวิทยุที่ได้รับและนำมาประมวลผลเพื่อระบุตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และระยะทางระหว่างจุดต่างๆบนพื้นโลกได้ การประมวลผลนั้นจะยังมาจากความเข้มและเวลาในการเดินทางของสัญญาณวิทยุด้วย ซึ่งความแม่นยำนั้นสามารถระบุได้แม่นยำสูงสุดถึงระดับ 5 เมตร

            อย่างไรก็ตามปัญหาการใช้งานจีพีเอสนั้นก็ยังมีให้เห็นอยู่เรื่อยๆ เช่น การใช้งานจีพีเอสในบริเวณใต้อาคาร การใช้งานในบริเวณที่มีกำแพงหรือผนังที่ปิดกั้น ทำให้อุปกรณ์รับสัญญาณจีพีเอสนั้นไม่สามารถรับสัญญาณได้ แม้แต่การใช้งานในบ้านทั่วๆไปก็อาจจะไม่สามารถใช้งานได้ดีนักเช่นกัน แต่จะยังมีการใช้งานในการนำทางอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นการใช้งานผ่าน WI-FI หรือเชื่อมต่อระบบเน็ตเวิร์คนั้น เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่สามารถใช้ในการนำทางได้ แม้ความแม่นยำอาจจะลดลงไปบ้าง แต่ก็เป็นอีกตัวช่วยที่ทำให้การใช้งานจีพีเอสนั้นทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าหากนำมาใช้งานร่วมกัน โดยการใช้งานร่วมกันของจีพีเอสและระบบเน็ตเวิร์คนั้น เป็นระบบที่ช่วยให้การระบุตำแหน่งนั้นแม่นยำที่สุดในปัจจุบัน

การให้บริการในการระบุตำแหน่งขั้นสูง

            เป็นที่คาดการกันว่าจีพีเอสนั้นจะมีการพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นในอนาคตอันใกล้นี้ ปัจจุบันนี้การใช้จีพีเอสนั้นเป็นการใช้สัญญาณวิทยุในช่วงความยาวคลื่นแบบ L-band ซึ่งเป็นคลื่นที่ไม่ได้ทำให้การระบุตำแหน่งแม่นยำมากนักเมื่อเทียบกับคลื่นอื่นๆ เช่น สัญญาณแบบ S, C และ X โดยเหตุผลที่ยังจำเป็นต้องใช้คลื่นแบบ L-band อยู่ ก็เพราะว่า คลื่นแบบ L-band นี้สามารถทะลุผ่านเมฆ หมอก หรือสิ่งกีดขวางที่อยู่ในอากาศ ได้ดีกว่าคลื่นชนิดอื่นๆที่กล่าวมา

ผู้เชี่ยวชาญได้มีการศึกษาและพัฒนาคลื่นความถี่ในรูปแบบใหม่เพื่อจะนำมาใช้ในการส่งสัญญาณจีพีเอส โดยมีการพัฒนาคลื่นความถี่แบบ L2C ขึ้นมาเพื่อหวังว่าจะนำมาใช้ในอนาคต แต่จะต้องมีดาวเทียมใหม่ที่สามารถส่งคลื่นในรูปแบบดังกล่าวได้ด้วยเช่นกัน คลื่นความถี่แบบ L2C นี้ จะช่วยให้ใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น มีการระบุตำแหน่งที่แม่นยำขึ้น และนอกจากจะสามารถใช้กับอุปกรณ์รับสัญญาณจีเอสรุ่นเก่าๆได้แล้วนั้น ยังสามารถที่จะทำงานได้กับอุปกรณ์รับสัญญาณในขณะที่มีการใช้พลังงานในการถ่ายโอนข้อมูลให้สามารถทำงานร่วมกับสัญญาณ GNSS ได้ด้วย ซึ่งระบบใหม่ของจีพีเอสที่มีความแม่นยำสูงขึ้นนี้เอง จะเป็นอีกตัวช่วยให้การทำงานของรถยนต์ที่ไร้คนขับนั้นทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่นกัน

ที่มา: https://castnav.com/

GPS
 4491
ผู้เข้าชม

gps

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์