ไปอีกขั้นกับการบริหารจัดการด้าน Logistics

ไปอีกขั้นกับการบริหารจัดการด้าน Logistics

            ช่วง 3-4 ปี ที่ผ่านมา หลังจากมีการจุดประกายด้านโลจิสติกส์ขึ้นมา แต่การพัฒนาในด้านโลจิสติกส์ของไทยยังมีการพัฒนาไปได้ไม่มากนัก เพราะในขั้นแรกนั้นการพัฒนาจะมุ่งเน้นที่การพัฒนาด้านกายภาพทางเดียว โดยไปเน้นพัฒนาโครงข่ายด้านถนนเป็นหลัก ซึ่งจำเป็นต้องใช้ต้นทุนสูง แต่จริงๆแล้วสิ่งที่จำเป็นยิ่งกว่าคือการเชื่อมรูปแบบการขนส่งแต่ละอย่างเข้าด้วยกัน แม้ที่ผ่านมาทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนจะพยายามผลักดันให้มีการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากการใช้รถยนต์มาใช้รถไฟแทน หรือการขนส่งทางน้ำเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะลดต้นทุนด้านการขนส่งลงไปได้ แต่ในทางปฏิบัติจริงๆแล้วยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากว่าทำให้เกิดความซับซ้อนที่ต้องใช้ในการขนส่งสินค้า และทำให้เกิดต้นทุนในการจัดการในแต่ละประเภทการขนส่งที่สูงขึ้น

            การพัฒนาด้านโลจิสติกส์นั้นเริ่มฉายภาพความคืบหน้าขึ้น โดยหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างช่วยกันผลักดันให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้น โดยปฏิบัติตามแผนการพัฒนาและการบริหารจัดการในการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศเพื่อให้มีการเร่งรัดและพัฒนาเร็วขึ้น จึงมีแผนพัฒนาที่เร่งด่วนโดยมุ้งเน้นไปที่สินค้า 5 ประเภทที่จะใช้ในการขนส่งก่อน ได้แก่ ข้าว แป้งมันสำปะหลัง ยางพารา น้ำตาล และเหล็ก เพื่อจะให้เกิดการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ โดยจะปรับเปลี่ยนรูปแบบในการขนส่งอย่างจริงจัง

            สำหรับการเดินหน้าและผลักดันการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ให้เป็นวาระแห่งชาตินั้น เกิดขึ้นจากทั้งภาครัฐ เอกชน รวมถึงกระทรวงคมนาคม โดยได้จัดทำแนวทางสำหรับการพัฒนาระบบขนส่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน การพัฒนาระบบการขนส่งต่างๆอย่างยั่งยืนนี้เอง จะเป็นส่วนช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปประกอบการพิจารณา การกำหนดนโยบาย การวางแผน การจัดทำโครงการ และการดำเนินการพัฒนารูปแบบการขนส่งรูปแบบต่างๆภายในประเทศในระยะต่อๆไป

 857
ผู้เข้าชม

gps

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์