การเลือกซื้อน้ำมันเครื่องก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องในการดูแลรถยนต์ที่ต้องให้ความสำคัญ ไม่เช่นนั้นหากเลือกผิด เลือกน้ำมันเครื่องที่ไม่ตรงตามชนิดของเครื่องยนต์ ก็อาจจะทำให้เครื่องเสียหายร้ายแรงได้ และเนื่องด้วยน้ำมันเครื่องทุกวันนี้มีอยู่หลายยี่ห้อ หลายแบรนด์ ที่อาจจะทำให้บางคนไม่ทราบว่าจะใช้น้ำมันเครื่องชนิดไหนดีที่จะเหมาะสมกับรถของตัวเอง ซึ่งวันนี้เราจะมาแนะนำการซื้อน้ำมันเครื่องให้เหมาะสมกับการใช้งาน และเหมาะสมกับรถของท่านกัน
1. ประเภทของน้ำมันเครื่อง
2. ค่าความหนืด
เป็นค่าที่บอกความข้น-ใสของน้ำมันเครื่อง กำหนดโดยองค์กรวิศวกรรมยานยนต์ หรือ SAE หรือ API จากสหรัฐอเมริกา โดยค่าความหนืดจะระบุเป็นตัวเลขติดกับเลขระบุค่าความทนความเย็นของน้ำมันเครื่อง ตามหลังตัวอักษร SAE เช่น SAE 0W-25 หรือ SAE5W-20 เป็นต้น
ส่วนเลขหน้าที่เป็นค่าความหนืด จะบอกถึงค่าความหนืดของน้ำมันเครื่อง ไล่ตั้งแต่ 5, 10, 20, 30, 40, 50 และ 60 โดยค่าความหนืดจะสัมพันธ์กับตัวเลข เลขมากก็จะหนืดมาก เลขน้อยก็จะหนืดน้อย ซึ่งค่าความหนืดนี้เองจะมีผลต่อความลื่นและการป้องกันการสึกหรอของเครื่องยนต์
3. น้ำมันเครื่องสูตรพิเศษ
นอกจากน้ำมันเครื่องทั่วไปแล้ว จะมีบางรุ่นที่วิจัยขึ้นมาเพื่อการใช้งานกับรถที่ติดแก๊สทั้ง NGV, LPG และเพื่อรถที่ต้องบรรทุกของหนัก เป็นต้น
4. ราคา
จะเห็นว่าน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์จะมีราคาที่ถูกลงค่อนข้างเยอะเมื่อเทียบกับน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค แต่ทั้งนี้จะเห็นว่าผู้ผลิตน้ำมันเครื่องเองจะมีจำนวนน้อยมากที่จะออกมาบอกว่าในน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์นั้นได้มีการผสมน้ำมันเครื่องสังเคราะห์กี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอาจจะมีแค่ 1% แต่ก็ใช้คำว่าน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์(Semi-Synthetic) แล้ว
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์(Fully Synthetic) ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่สังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียม ใช้งานได้ราว 10,000 -15,000 กิโลเมตร แต่อย่างไรก็ตามควรจะระวังให้มาก เพราะว่าปัจจุบันการใช้คำว่า Synthetic นั้นมีมาก ทั้ง Synthetic Technology, Synthetic Performance ซึ่งข้อความเหล่านี้เหมือนจะเป็นการโฆษณาเพื่อเลี่ยงคำซะมากกว่า และแท้ที่จริงแล้วไม่ใช่น้ำมันสังเคราะห์แท้ๆ ดังนั้นควรอ่านฉลากประกอบที่อธิบายคุณสมบัติของน้ำมันเครื่องให้ชัดเจนก่อน ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อเพียงเพราะเห็นคำโฆษณาที่แสดงไว้
ข้อมูล: http://www.veloil.com/