GPS navigation device

GPS navigation device

                อุปกรณ์นำทางจีพีเอส (GPS navigation device) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการรับสัญญาณและข้อมูลจากดาวเทียม และประมวลผลเพื่อแสดงข้อมูลเป็นพิกัดทางภูมิศาสตร์ (ละติจูด, ลองจิจูด) ถึงตำแหน่งที่อุปกรณ์รับสัญญาณจีพีเอสนั้นอยู่ จากการใช้ซอฟแวร์ที่เหมาะสมกับอุปกรณ์รับสัญญาณจีพีเอสจะแสดงตำแหน่งบนแผนที่ได้แม่นยำและสามารถที่จะเสนอเส้นทางเพื่อไปยังเป้าหมายที่ต้องการได้

ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS) จะใช้ระบบดาวเทียมเพื่อนำทางบนภาคพื้นโลก (Global Navigation Satellite System: GNSS) ซึ่งระบบดาวเทียมเพื่อนำทางนี้จะเป็นระบบที่ดาวเทียมอย่างน้อย 24 ดวง(ปัจจุบันมีถึง 30 ดวง) ที่ลอยค้างอยู่ในอวกาสและโคจรอยู่รอบโลก

                เดิมทีนั้นจีพีเอสถูกผลิตและพัฒนาขึ้นมาสำหรับใช้ประโยชน์ในกองทัพของสหรัฐ แต่ในช่วงคริสต์ศักราชที่ 1980 รัฐบาลของสหรัฐได้อนุญาตให้ใช้งานจีพีเอสสำหรับภาคพลเรือนได้ โดยการใช้ข้อมูลจากดาวเทียมจีพีเอสนั้นจะไม่ต้องเสียค่าบริการและสามารถใช้งานได้จากทุกมุมโลก ซึ่งอุปกรณ์รับสัญญาณจีพีเอสและซอฟแวร์ที่เกี่ยวของนั้นสามารถหาซื้อหรือยืมได้ทั่วไป

                อุปกรณ์รับสัญญาณจีพีเอสสามารถที่จะเรียกค้นหาตำแหน่งและข้อมูลเวลาได้ในทุกสภาพอากาศทุกพื้นที่บนโลก โดยการรับสัญญาณจีพีเอสต้องได้รับสัญญาณที่ไม่มีสิ่งกีดขวางจากดาวเทียมจีพีเอส 4 ดวง หรือมากกว่า และขึ้นอยู่กับความเข้มของสัญญาณด้วย เช่น การรับสัญญาณในเขตเมือง สัญญาณดาวเทียมนั้นอาจมีการแพร่กระจายไปหลายจุด และสัญญาณอาจสะท้อนไปตามโครงสร้างของตึกหรือความเข้มของสัญญาณลดลงจากสภาวะสภาพอากาศ นอกจากนี้การกีดขวางสัญญาณอาจเกิดได้จากหลังคาหรือการที่ตัวรับสัญญาณอยู่ใต้ตึก ภายในอาคาร โรงรถ หรืออุโมงค์

ทุกวันนี้การใช้อุปกรณ์รับสัญญาณจีพีเอสจะเป็นอุปกรณ์ที่ทุกอย่างรวมไว้เสร็จสรรพแล้วในอุปกรณ์เครื่องเดียวและมักติดตั้งในรถหรือยานพาหนะต่างๆ ความสามารถของจีพีเอสในโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นอาจจะใช้เทคโนโลยี A-GPS ซึ่งสามารถใช้สัญญาณจากสถานีเครือข่ายโทรศัพท์หรือเสาสัญญาณจากผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เพื่อติดตามตำแหน่งของอุปกรณ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสัญญาณจีพีเอสนั้นไม่เข้มมากพอหรือไม่สามารถรับสัญญาณจีพีเอสได้ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยี A-GPS นั้นใม่สามารถที่จะใช้งานได้เมื่อโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นออกจากระยะการรับสัญญาณจากเสาสัญญาณโทรศัพท์

ระบบนำทางในรถยนต์และยานพาหนะ

                การใช้ข้อมูลจีพีเอสและส่วนอื่นๆนั้น ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของซอฟแวร์ที่ติดตั้ง โดยอุปกรณ์รับสัญญาณจีพีเอสที่ใช้เป็นระบบนำทางในรถยนต์อาจใช้ในบริบทต่างๆ ได้แก่

  • แผนที่แสดงถนนในรูปแบบที่ผู้ใช้งานสามารถอ่านได้ทั้งแบบข้อความหรือกราฟฟิค
  • การนำทางแบบบอกให้ขับตาม ซึ่งผู้ใช้งานหรือคนขับรถจะต้องขับตามข้อความหรือเสียงพูดจากอุปกรณ์
  • แผนที่การจราจรแออัด(แสดงข้อมูลตามประวัติหรือข้อมูลแบบเรียลไทม์) และแนะนำเส้นทางอื่นๆที่เหมาะสมในการเดินทาง
  • ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกในบริเวณใกล้เคียง เช่น ร้านอาหาร, สถานีเติมเชื้อเพลิง และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

ความสามารถอื่น ที่อุปกรณ์รับสัญญาณจีพีเอสทำได้

  • ช่วยหาถนนหรือเส้นทางอื่นๆที่ใช้งานได้
  • ความแออัดของการจราจรและเส้นทางเลี่ยง
  • ถนนหรือเส้นทางอื่น ที่อาจจะต้องใช้ในการเดินทางไปยังจุดหมายปลายทาง
  • ถ้าถนนบางเส้นไม่สามารถใช้งานได้(จากข้อมูลปัจจุบันหรือว่าตามข้อมูลในอดีต) สามารถหาเส้นทางใหม่ที่ดีที่สุดได้
  • สถานที่ตั้งของร้านอาหาร, ธนาคาร, โรงแรม, สถานีเติมน้ำมันเชื้อเพลิง สนามบิน หรือสถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ
  • เส้นทางที่สั้นที่สุดระหว่างสถานที่ 2 แห่ง
  • ทางเลือกสำหรับขับขี่บนถนนหลวง หรือทางรองเส้นอื่น

การใช้งานจีพีเอสในรูปแบบต่างๆ

  • เป็นอุปกรณ์นำทางโดยเฉพาะ
  • เชื่อมต่อโมดูลของจีพีเอสกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อจะใช้งาน
  • การบันทึกข้อมูลการเดินทางของจีพีเอสเพื่อดาวน์โหลด ซึ่งการเก็บข้อมูลดังกล่าวมีประโยชน์สำหรับการสำรวจเส้นทาง และการทำรหัสพื้นที่ต่างๆ

การใช้อุปกรณ์จีพีเอสเพื่อนำทางโดยเฉพาะ

                อุปกรณ์รับสัญญาณจีพีเอสที่ใช้เพื่อการนำทางนั้นมีหลายชนิด จะเป็นแบบพกติดตัวเพื่อใช้สำหรับกิจกรรมกลางแจ้งหรือเป็นแบบที่ใช้สำหรับเล่นกีฬาที่สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ บางรุ่นที่จะใช้งานได้นานหลายชั่วโมงเพื่อให้เหมาะสำหรับกิจกรรมเดินป่า ปั่นจักรยาน และกิจกรรมอื่นๆที่ไกลจากแหล่งพลังงานไฟฟ้าสำหรับชาร์ตไฟ ด้วยจอแสดงผลที่มีขนาดเล็กและไม่แสดงภาพสีเพื่อให้ประหยัดพลังงานสูงสุด มีอุปกรณ์บางตัวที่ใช้จอแสดงผลแบบคริสตัลเหลว เพื่อให้สามารถใช้งานได้แม้ในที่แสงสว่างมาก รวมไปถึงมีความทนทานและสามารถกันน้ำได้

                อุปกรณ์รับสัญญาณจีพีเอสอีกรูปแบบหนึ่งที่ติดตั้งในรถยนต์หรือยานพาหนะต่างๆ จะมีแบตเตอรี่ภายในที่สามารถชาร์ตเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แบตเตอรี่อาจสามารถใช้งานได้นาน 1 หรือ 2 ชั่วโมง สำหรับการชาร์ต 1 ครั้ง แต่ก็มีบางรุ่นที่ใช้พลังงานจากระบบไฟฟ้าในในรถยนต์

                การติดตั้งระบบซอฟแวร์ลงไปอุปกรณ์รับสัญญาณจีพีเอสนั้น ในช่วงแรกจะยังไม่แสดงแผนที่ กระทั่งช่วงศตวรรษที่ 21 ได้มีการเพิ่มแผนที่แสดงถนนลงไป(ใช้ได้ในบางภูมิภาคเท่านั้น) แสดงเป็นจุดที่น่าสนใจ, ข้อมูลเส้นทาง และการกำหนดเส้นทางทีละขั้นตอนเพื่อไปยังตำแหน่งปลายทาง

ข้อมูล: https://en.wikipedia.org/

GPS
 19180
ผู้เข้าชม

gps

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์