การสร้างประสิทธิภาพสูงสุดของเครือข่ายโลจิสติกส์

การสร้างประสิทธิภาพสูงสุดของเครือข่ายโลจิสติกส์

 
    
       การเปิดเส้นทางการค้าและการสร้างประสิทธิภาพสูงสุดของเครือข่ายโลจิสติกส์ (New trade lane and Network optimization) เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ใหม่ของบริษัทฯ ที่ต้องการเป็น “ผู้นำในด้านการเป็นผู้เชี่ยวชาญ (Cement Solution Specialist) ที่สามารถตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้า ให้ได้ดั่งใจของลูกค้า”  ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนแบรนด์ใหม่ ของบริษัทฯ คือ “ได้ดั่งใจ” หรือ “As I Wish” และ เป็นการปรับเปลี่ยนบทบาทจากอุตสาหกรรมที่เน้นด้านการผลิตและตัวสินค้า มุ่งสู่การเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นด้านบริการ นอกจากนี้บริษัทฯ ยังต้องปรับยุทธศาสตร์ให้สามารถเผชิญกับแรงกดดันจากต้นทุนที่สูงขึ้นอย่าง มากในทุกๆ ด้าน

           

      ดังนั้นในบรรดากลยุทธ์เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนทั้งหลาย การดำเนินกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์จึงนับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกลยุทธ์ในด้านการบริหารต้นทุนถือเป็นกลยุทธ์หลักที่จะดำเนินการควบคู่ไปกับกลยุทธ์ในด้านการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างอย่างยั่งยืนในด้านการสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า (Innovation for Sustainable Differentiation in Value Chain management) ซึ่งสินค้าที่มีมูลค่าต่อน้ำหนักต่ำส่งผลให้ต้นทุนโลจิสติกส์มีสัดส่วนต่อราคาขายสูง การลดต้นทุนในขณะที่ต้องการเพิ่มระดับการบริการจึงเป็นสิ่งที่ท้าทายการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์อย่างมาก ในภาวะที่ราคาน้ำมันได้มีการปรับตัวสูงขึ้นทำให้ต้นทุนค่าขนส่งได้รับผลกระทบอย่างมาก เนื่องจากการขนส่งส่วนใหญ่จะใช้การขนส่งทางถนน ซึ่งเป็นรูปแบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานต่ำที่สุด โดยมีสัดส่วนของต้นทุนน้ำมันดีเซลสูงถึงร้อยละ 40 ของต้นทุนค่าขนส่งทั้งหมด ดังนั้นเมื่อราคาน้ำมันมีความผันผวน ต้นทุนโลจิสติกส์ของบริษัทฯ ก็จะขาดเสถียรภาพตามไปด้วย

 

      ทิศทางนโยบายของรัฐบาลว่าจะส่งเสริมการใช้ NGV จริงจังและต่อเนื่องอย่างไรเพราะถึงแม้ว่าจะมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ด้านท่อก๊าซและสถานีบริการ (Hardware) แล้วแต่ถ้ายังไม่มีความชัดเจนว่าราคา NGV จะมีการตรึงไว้นานเท่าใดโดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยต้องนำเข้า NGV จากต่างประเทศในอนาคต รวมทั้งนโยบายการส่งเสริมให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น นอกจากปตท. เพื่อให้เกิดการกระจายตัวและมีการแข่งขันในเชิงการสร้างประสิทธิภาพมากขึ้น และนโยบายการสนับสนุนเชื้อเพลิงทดแทนอื่นเช่น ไบโอดีเซล เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการใช้ NGV ก็เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในขณะนี้ และสามารถให้ผลคุ้มกับการลงทุนได้ในระยะเวลาไม่นานเกินไป ผู้ที่ตัดสินใจช้าก็จะเสียเปรียบในด้านโครงสร้างต้นทุนโลจิสติกส์ 

 

      จะเห็นได้ว่ายุทธศาสตร์การเปิดเส้นทางการค้าและการสร้างประสิทธิภาพสูง สุดของเครือข่ายโลจิสติกส์ (New trade lane and Network optimization) และนโยบาย Mode Shift & Energy Shift ของรัฐบาลจะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของภาคธุรกิจทั้งหมดของประเทศอย่างมาก ดังนั้นความชัดเจนของนโยบายการนำนโยบายไปปฏิบัติให้ได้ตามแผนและบรรลุเป้าหมาย และการร่วมมือประสานงานไปในทิศทางเดียวกันของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ ภาครัฐและภาคเอกชน จะมีผลอย่างมากต่อต้นทุนโลจิสติกส์ของภาคเอกชนของประเทศ และสุดท้ายก็จะเป็นตัวกำหนดขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของประเทศ ไทย

  

 

ที่มา : http://www.logisticsthaiclub.com

 1225
ผู้เข้าชม

gps

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์