ปัญหาและอุปสรรคของผู้ให้บริการด้านการขนส่ง (3PL)

ปัญหาและอุปสรรคของผู้ให้บริการด้านการขนส่ง (3PL)

   

        ผู้ให้บริการด้านการขนส่งของไทยส่วนใหญ่เป็น SME และยังขาดขีดความสามารถที่จะแข่งขันกับบริษัทต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงินทุน เทคโนโลยีและบุคลากร โดยในปี 2009 ได้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ GDP ของไทยติดลบเฉลี่ยร้อยละ 2-3 ส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้บริษัทรับขนส่ง SME หลายแห่งได้มีการปิดตัวไปเป็น จำนวนมาก หรือไม่ก็ถูกซื้อกิจการไปโดยชาวต่างชาติ
        

      โดยจากตัวเลขผู้ประกอบการโลจิสติกส์ของไทย 50 อันดับแรก เป็นบริษัทต่างชาติ จำนวน 26 บริษัท, บริษัทในเครือรัฐวิสาหกิจ จำนวน 10 บริษัท, บริษัทมหาชนจำนวน 10 บริษัท โดยจากข้อมูลของกรมพัฒนาเศรษฐกิจการค้า ในปี 2549 กลุ่มธุรกิจการขนส่งสินค้าคิดเป็นร้อยละ 54 ของจำนวนผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ของประเทศ โดยประมาณกันว่า ปี 2009 ธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ทั้งหมดมีมูลค่าตลาดรวมที่ 150,000 – 165,000 ล้านบาท โดยที่แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย ยังไม่มีการบันทึกไว้ แต่จากตัวเลขการขยายตัวของธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ภายในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก มีการเติบโตเฉลี่ยที่ ร้อยละ 12-15

 ปัญหาและอุปสรรคของบริษัทรับจ้างขนส่ง
   

      1) ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านโลจิสติกส์อย่างแท้จริง

 

     2) ขาดเงินทุนที่เพียงพอในการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น การลงทุนในระบบ Software อย่าง TMS (Transportation Management System), GPS เป็นต้น รวมไปถึงประสิทธิภาพการดำเนินการที่ไม่สามารถแข่งขันกับบริษัทต่างชาติได้ เนื่องจากต้นทุนที่สูงและผลงานสู่บริษัทต่างชาติไม่ได้ ทำให้บริษัทต้องปิดกิจการไปในที่สุด

 

    3) ภาครัฐไม่ได้ให้การสนับสนุนเท่าที่ควร ถึงแม้จะมีการออกเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ และมีการตั้งคณะกรรมการโล จิสติกส์แห่งชาติ หรือกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) อีกทั้งยังมีการจัดตั้งสำนักงานโลจิสติกส์การค้าของกรมการส่งเสริมการส่งออกเมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่มีผลงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางด้านโลจิสติกส์และผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ออกมาอย่างชัดเจน ไม่มีแผนงาน ไม่มีทั้งงบประมาณในการสนับสนุนงานด้านโลจิสติกส์ของประเทศอย่างจริงจัง

        
 แนวทางแก้ไข

  
     1) ต้องพัฒนาและสรรหาบุคลากรที่เข้าใจในเรื่องการบริหารจัดการโลจิสติกส์อย่างจริงจัง มาร่วมในการดำเนินงาน เพื่อนำองค์   ความรู้ที่เหมาะสมมาใช้ในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     2) การลดต้นทุนค่าขนส่ง (Running Cost) ซึ่งประเทศไทยใช้วิธีการขนส่งทางถนนมากที่สุด (89% ของปริมาณขนส่งโดยรวมของประเทศ) ค่าขนส่งที่เกิดขึ้นจากการใช้รถ ได้แก่ ค่าเชื้อเพลิง ค่าบำรุงรักษา ค่ายาง โดยแสดงให้เห็นดังรูป จะเห็นว่าต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสูงที่สุด

                                                       
                                                                 

ที่มา : www.kanok.co.th
 

การบริหารต้นทุนค่าขนส่งต้องควบคุมค่าใช้จ่าย 3 รายการนี้ โดยต้องดูความเหมาะสมในการบริหารจัดการให้สมดุล ได้แก่

  • ค่าเชื้อเพลิง : ขับอย่างไรให้ใช้น้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ขับรถเร็วเกินจำเป็น
  • ค่าซ่อมบำรุง : ควบคุมได้ถ้ามีการดูแลอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ ตรวจเช็คตามระยะ ทางที่กำหนด
  • ค่ายาง : ตรวจสอบและดูแลอย่างสม่ำ เสมอ ทั้งสภาพของยางรถและลมยางที่บรรจุ

          ส่วนที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ พนักงานขับรถต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยการอบรมเพิ่มความรู้ รวมไปถึงทักษะในการขับรถอย่างประหยัดและปลอดภัยโดยการลดต้นทุนที่เกิดขึ้นนี้จะต้องมีการเก็บข้อมูล และตรวจสอบวัดผลด้วย

     3) ควรเพิ่มการลงทุนทางด้าน IT เพื่อการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นยกตัวอย่างเช่น

  • TMS (Transportation Management System) เป็นการจัดเส้นทางเดินรถ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง
  • C-Move เป็นระบบการขนส่งที่คิดค้นโดย บริษัท ดี เอ็กซ์ อินโนเวชั่น จำกัด ของคนไทย ซึ่งเป็นระบบการบริหารการ

            จัดสรรงานขนส่งให้แก่ผู้ส่งสินค้าและผู้ให้บริการส่งสินค้า

  • GPS (Global Positioning System) เป็นระบบที่กำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยดาวเทียม โดยนำมารวมกับเทคโนโลยี 
  • GPRS ของโทรศัพท์ เคลื่อนที่ เพื่อบอกถึงข้อมูลการเดินทางต่าง ๆ สามารถใช้ติดตามสถานะของการขนส่งได้    

     4) ต้องมีการวางแผนระยะยาว สำหรับบริษัทขนส่งทั่วไป เมื่อมีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการเพิ่มมากขึ้น ควรพัฒนาขึ้นมาเป็น 3PL (Third-Party Provider Logistics) เต็มรูปแบบเพื่อเป็นบริษัทที่รับบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ อย่างครบวงจร เป็นการขยายตลาดได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

     5) พัฒนาองค์กรให้ทันต่อการเปลี่ยน แปลงอยู่เสมอ โดยการปรับกลยุทธ์ มีการวาง แผนทางการตลาด ค้นหาวิธีการบริหารจัดการใหม่ ๆ ที่สามารถทำให้ต้นทุนการขนส่งมีค่าโดยรวมต่ำที่สุดหรือทำสิ่งที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง

     6) สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง (Customer Relationship Management) โดยการสร้างความร่วมมือที่จะนำไปสู่การตอบสนองต่อเป้าหมายของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน

     7) ภาครัฐควรให้การสนับสนุนและช่วยเหลือด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านเงินทุน โดยมีการกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบให้ชัดเจน และประชาสัมพันธ์ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและความเข้าใจในการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ของประเทศ เพื่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการ 3PL ได้ดียิ่งขึ้น
 

 

   

ที่มา :  http://www.logisticscorner.com

 10625
ผู้เข้าชม

gps

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์