ใบขับขี่ หรือ "ใบอนุญาตขับขี่" คือ ใบอนุญาตเพื่อยืนยันว่า บุคคลเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการขับขี่ และได้รับอนุญาตให้ขับขี่รถตามกฎหมายประเภทต่างๆ อาทิ ใบอนุญาตขับขี่ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถรับจ้าง เป็นต้น
ใบขับขี่ หรือ "ใบอนุญาตขับขี่" คือ ใบอนุญาตเพื่อยืนยันว่า บุคคลเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการขับขี่ และได้รับอนุญาตให้ขับขี่รถตามกฎหมายประเภทต่างๆ อาทิ ใบอนุญาตขับขี่ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถรับจ้าง เป็นต้น
ตาม พ.ร.บ.การจราจร ของประเทศไทย ผู้ขับขี่ที่สามารถทำใบอนุญาตขับขี่ได้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี (หรือ 15 ปีสำหรับรถจักรยานยนต์) ดังนั้น ผู้ที่มีบุตรหลานกำลังโตอยู่ในช่วงวัยรุ่น และเริ่มขอยืมรถยนต์ออกไปขับเอง ไม่ว่าจะออกไปทำธุระส่วนตัว ไปโรงเรียน หรือไปปาร์ตี้ การตัดสินให้ลูกที่อยู่ในวัยรุ่นเอารถไปขับเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองควรพิจารณา แม้ว่ารถของคุณจะมีประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ที่ดีที่สุดคุ้มครองอยู่ก็ตาม
นอกจากเป็นหลักฐานที่ยืนยันและแสดงว่า เจ้าของใบอนุญาตเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการขับขี่รถประเภทที่กำหนดในใบอนุญาตได้จริง แล้วนั้น ใบขับขี่ยังมีประโยชน์อื่นๆ ด้วยดังนี้
1. ช่วยให้ได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายจากประกันภัยรถยนต์ต่างๆ ที่ได้ทำเอาไว้ หากไม่มีใบขับขี่ ก็อาจทำให้บริษัทประกันใช้เป็นข้ออ้างเพื่อการยกเว้นความรับผิดชอบได้ หรือ พูดง่ายๆ ก็คือ บริษัทประกันจะไม่จ่ายค่าเสียหายให้โดยอ้างว่าผู้เสียหายไม่มีใบอนุญาตขับขี่คุณต้องสมัครอบรม สอบข้อเขียน ปฏิบัติ วัดสภาพร่างกายก่อน ถึงจะได้ใบขับขี่มา โดยมีขั้นตอนตามนี้เลย
1. จองคิวอบรม
หมดยุคตื่นแต่เช้า (มืด) ไปต่อแถวยาวๆ กับการจองคิวเพื่อสอบใบขับขี่ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะได้หรือเปล่า เพราะเกินโควต้าของแต่ละวัน เพราะเดี๋ยวนี้คุณสามารถจองคิวอบรมออนไลน์ผ่าน DLT: ระบบจองคิวทำใบขับขี่ออนไลน์ เพื่อทำการนัดคิวอบรมได้เลย
โดยคุณต้องอบรมทั้งหมด 5 ชั่วโมง เกี่ยวกับกฎจราจร ขั้นตอนระบบการจองคิวมีดังต่อไปนี้
1.1 เข้าไปที่เว็บไซต์ http://ebooking.dlt.go.th/ebooking/
1.2 ไปที่เมนูกรอกประวัติ พิมพ์เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก กรอกประวัติให้ครบถ้วนและจองที่นั่งฝึกอมรม
1.3 หลังจากลงทะเบียนกรอกข้อมูลครบเรียบร้อย จะมีการแสดงข้อมูลการจองที่นั่งอบรม
1.4 เลือกประเภทใบอนุญาต/ หลักสูตร/ จังหวัด/ สำนักกรมการขนส่งจังหวัด รวมทั้งเลือกวัน เดือน และปีที่ต้องการจองคิว หากว่างจะแสดงเป็นหมายเลขห้องอบรม และจำนวนที่นั่งว่าง
1.5 เมื่อกรอกข้อมูลครบทั้งหมดแล้ว ระบบจะแสดงข้อความยืนยันการจอง ระบุหมายเลข Ticket ID และรายละเอียดสถานที่อบรม เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
1.6 การเข้าใช้งานทุกครั้งต้องกรอกข้อมูลใน DLT e-booking ด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชนและรหัสผ่าน ควร SAVE ข้อมูลหน้ายืนยันการจองนี้ แล้วสั่งพิมพ์เป็นหลักฐานในการยืนยันการจองคิวขอใบอนุญาตขับขี่
1.7 หากต้องการยกเลิกการจองที่นั่ง สามารถกลับมายังหน้าแรกเพื่อเข้าไปทำรายการได้
ทั้งนี้ ในวันสอบใบขับขี่จริง ให้แต่งกายสุภาพ งดใส่เสื้อแขนกุด กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะ เมื่อถึงวันจองคิวจะต้องไปก่อนเวลานัด 30 นาที มิเช่นนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์และต้องทำการจองใหม่
2. เตรียมยื่นเอกสาร ที่กรมขนส่ง
2.1 บัตรประชาชนฉบับจริง พร้อมสำเนาหนึ่งชุด
2.2 ใบรับรองแพทย์ อายุไม่เกินหนึ่งเดือน (เฉพาะผู้ขอรับใบขับขี่ใหม่ ใบขับขี่ส่วนบุคคลชั่วคราวขาดเกิน 1 ปี และ 3 ปี รวมทั้งใบขับขี่ส่วนบุคคลขาดเกิน 3 ปี) สามารถขอได้จากโรงพยาบาล หรือคลินิกการแพทย์
2.3 ใบขับขี่ใบเดิม (ถ้ามี)
2.4 ใบรับรองการอบรม (สำหรับผู้เข้าอบรมนอกกรมขนส่งฯ) โดยคุณสามารถจองคิวอบรมได้ด้วยตัวเองที่กรมขนส่งทางบก และโทรศัพท์ Hotline 1584 หรือ ขั้นตอนการจองห้องอบรมขอรับใบอนุญาตขับรถ
3. ทำการทดสอบร่างกาย
ประกอบไปด้วยทดสอบตาบอดสี ทดสอบสายตาทางลึก ทดสอบสายตาทางกว้าง และทดสอบการตอบสนองของเท้าผ่านเครื่องมือทดสอบ เพื่อทดสอบว่าเรามีคุณสมบัติพร้อมที่จะขับรถจริงๆ
4. อบรม 5 ชั่วโมง
การอบรมในแต่ละรอบนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ภาค ภาคเช้า เริ่ม 9.30 - 12.00 น. และภาคบ่ายเริ่ม 13.00 - 15.30 น. โดยเจ้าหน้าที่จะให้ความรู้เรื่องป้ายจราจร สัญญาณจราจร และเปิดวิดีโอต่าง ๆ ทั้งภาพการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง คลิปการขับรถปลอดภัย เป็นต้น โดดไม่ได้นะครับ เพราะมีเจ้าหน้ามี่คอยมองเราจากกล้องวงจรปิดอยู่
5. สอบข้อเขียน
ใช้เวลา 1 ชั่วโมง และประกอบด้วยคำถาม 50 ข้อ โดยข้อสอบส่วนใหญ่ จะเกี่ยวกับเครื่องหมาย และสัญญาณจราจรต่างๆ คุณต้องตอบให้ถูกอย่างน้อย 45 ข้อ หรือ 90% ของข้อสอบ เพื่อที่จะผ่านการประเมิน เพื่อให้มั่นใจว่าคุณสอบผ่าน คุณควรศึกษาคู่มือการขับขี่รถยนต์ที่กรมขนส่งฯ แจกให้ในวันที่คุณเข้ารับการอบรม ข้อไหนไม่มั่นใจ เราสามารถกดข้ามก่อนได้แล้วค่อยกลับมาทำทีหลัง ก่อนเริ่มทำข้อสอบ และหลังทำข้อสอบเสร็จ ที่หน้าจอของเราจะมีกล้องถ่ายรูปเราก่อนเพื่อยืนยันว่าเราเป็นผู้สอบจริงๆ เมื่อสอบเสร็จเครื่องจะพิมพ์ผลสรุปออกมาว่า เราผ่านหรือไม่ หากใครไม่ผ่าน ก็สามารถมาสอบใหม่ได้ในวันถัดไป
6. สอบปฏิบัติ
หลังจากสอบข้อเขียนผ่านแล้ว คุณต้องนัดหมายเพื่อสอบปฏิบัติล่วงหน้า โดยให้ไปสอบถามที่เค้าเตอร์ว่ามีว่างวันไหนบ้าง แล้วทำการจองคิววันที่ว่างไว้
ในการสอบคุณต้องทำการแสดงทักษะการขับรถผ่านท่าสอบ 3 ท่า โดยท่าแรก คือการขับรถท่าตรง มีระยะ 12 เมตร สอบโดยการขับรถเดินหน้าหนึ่งครึ่ง และถอยหลังหนึ่งครั้ง โดยไม่ให้เครื่องยนต์ดับ ท่าที่สอง คือการขับรถไปจอดเทียบไหล่ทาง ระยะห่างของรถยนต์จากไหล่ทางต้องไม่เกิน 25 ซม. และ ไม่เกยไหล่ทาง ส่วนทางสุดท้ายคือ ท่าที่ผู้เข้าสอบส่วนใหญ่สอบตกมากที่สุด คือการถอยจอด ซึ่งคุณต้องถอยรถเข้าช่องจอดในระยะที่กำหนด โดนไม่ชนกรวยบอกระยะ และเปลี่ยนเกียร์ได้ไม่เกิน 7 ครั้ง
7. ชำระค่าธรรมเนียมการทำบัตร
เมื่อคุณสอบผ่านแล้ว ขั้นต่อไปคือการและถ่ายรูปเพื่อทำการติดบัตร แล้วชำระค่าธรรมเนียมประมาณ 300 บาท จากนั้นคุณก็จะได้ใบขับขี่ไว้ในครองครองอย่างเป็นทางการ
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้
ที่มา : www.easycompare.co.th