แตรรถ เสียงดัง ๆ แปลก ๆ ผิดกฎหมายไหม โทษปรับเท่าไหร่

แตรรถ เสียงดัง ๆ แปลก ๆ ผิดกฎหมายไหม โทษปรับเท่าไหร่

แตรรถ

อุปกรณ์ในรถยนต์ที่ไม่ค่อยได้ใช้งานเสียเท่าไหร่ จนบางคนอาจจะไม่เคยได้ใช้เลยก็มี คือ แตรรถ ที่ติดอยู่ตรงพวงมาลัยรถยนต์ของเรานั่นเอง แต่รู้หรือไม่ว่าแตรรถเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมาก โดยมีไว้ช่วยในเรื่องของการเตือนก่อนเกิดอุบัติเหตุได้ หรือเป็นสัญญาณเสียงเพื่อบอกเตือน ผู้ร่วมทาง คนเดินเท้า หรือ เหตุฉุกเฉินที่อาจจะมาถึงตัวเราได้

แตรรถมีอุปกรณ์ที่ติดอยู่กับพวงมาลัยรถยนต์ มีหน้าที่ส่งเสียง การสื่อสารให้กับรถยนต์อีกฝ่ายได้รับทราบ ไม่ว่าจะเป็นการขอทาง การให้ทาง การป้องกันรถ การห้ามรถ โดยต้องใช้แตรรถให้ถูกวิธีตามหลักมาตรฐานสากล

หลักการทำงานของแตรรถ

แตรรถยนต์ส่วนใหญ่เป็นแตรไฟฟ้า ทำงานโดยเมื่อเรากดปุ่มแตรบนพวงมาลัยรถยนต์ กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านขดลวด และขดลวดจะเป็นแม่เหล็กคอยดูดระหว่างแผ่นไดอะแฟรม ที่เป็นแผ่นเหล็กลักษณะพิเศษทั้ง 2 แผ่น ทำให้สั่นและบิดตัวจนเกิดเสียงดัง

หลักการใช้แตรรถอย่างถูกวิธีมีดังนี้

  1. ใช้เสียงแตรให้เหมาะสม ใช้เสียงแตรตามหลักมาตรฐานที่โรงงานผลิตรถยนต์ติดตั้งมาให้แต่แรก เพราะเป็นเสียงที่ถูกต้อง เราไม่ควรไปดัดแปลงเสียงให้ดังหรือเปลี่ยนเป็นเสียงอื่นที่ดังจนเกินไป
  2. ใช้แตรรถแบบจังหวะสั้นและเบา เพื่อเป็นการให้สัญญาณเตือนแบบทั่วไป เช่น เวลามีรถคันหน้าจอดอยู่แล้วรถไหลถอยหลังมา เราสามารถให้สัญญาณแตรแบบสั้น ๆ และ เบา ๆ ได้
  3. ใช้แตรรถค่อนข้างดังและยาว ต่อเมื่อเป็นการให้สัญญาณเตือนแบบตั้งใจ เช่น เจอรถเปลี่ยนเลนเข้ามาในเลนเราแบบกะทันหันโดยไม่เปิดไฟเลี้ยวให้สัญญาณเรา หรือกรณีเจอรถจะออกจากซอยแบบกะทันหัน
  4. เมื่อผ่านโค้งหักศอก กรณีขับรถผ่านโค้งหักศอก หรือบริเวณมุมอับที่ไม่สามารถมองเห็นรถยนต์ที่สวนทางมาได้ ให้บีบแตรสั้น ๆ เพื่อเป็นการบอกรถคันที่กำลังจะสวนทางมาให้ระวังมากขึ้น
  5. กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน กรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุฉุกเฉินบนท้องถนน เช่นมีผู้บาดเจ็บ หรือ พบเห็นคนกำลังถูกโจรปล้น เราสามารถใช้สัญญาณแตรรถแบบเสียงดังลากยาวได้ เพื่อเป็นจุดสังเกตุและขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างในบริเวณนั้น
  6. ห้ามใช้แตรก็ต้องห้ามใช้ บางครั้งเราอาจต้องขับรถไปสถานที่ห้ามใช้สัญญาณแตรรถ เช่น โรงพยาบาล สถานที่ราชการ วัด ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้แตร

ข้อห้ามการใช้แตรรถ มีอะไรบ้าง

ข้อห้ามสำหรับการใช้แตรรถที่ผิดจากเสียงเดิม สื่อความหมายผิดอย่างไร

  1. ห้ามใช้แตรที่เป็นเสียงหลาย ๆ เสียง หรือเสียงนกหวีด รวมถึงห้ามใช้เสียงไซเรนกับรถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไป เพราะสัญญาณไซเรนใช้ได้เฉพาะรถฉุกเฉิน รถในราชการทหาร หรือ ตำรวจ เท่านั้น การใช้เสียงใช้เฉพาะจำเป็น ป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ห้ามใช้เสียงรถกดดังยาว ๆ หากฝืนปรับไม่เกิน 1000 บาท
  2. การใช้สัญญาณแตร ควรบีบแตรเป็นจังหวะสัญญาณสั้น ๆ ห้ามใช้แตรยางเกินควร ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
  3. ห้ามดัดแปลงระดับเสียงแตรเด็ดขาด
  4. ห้ามใช้สัญญาณแตรกดยาวโดยไม่จำเป็น จะใช้ได้ต่อเมื่อมีเหตุฉุกเฉินเท่านั้น

แต่งแตรรถปรับเท่าไหร่

ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก กำหนดให้แตรรถยนต์และรถจักรยานยนต์ต้องเมีเสียงดังไกลเกินระยะ 60 เมตร หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท และ มาตรา 14 การบีบแตรควรใช้เมื่อจำเป็นหรือใช้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น ไม่ควรบีบยยาว ๆ หรือบีบซ้ำเกินจำเป็นหากฝ่าฝืนมีโทษปรับ 500 บาท

การใช้ แตรรถ ที่ถูกต้องจะช่วยป้องกันเหตุทีอาจจะเป็นอันตรายได้ ไม่ได้เป็นเรื่องที่เสียมารยาทแต่อย่างใด เพียงแต่ใช้ให้ถูกต้องตามความเหมาะสม และเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนนได้


ที่มา : www.easyinsure.co.th

 5734
ผู้เข้าชม

gps

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์