สำหรับการเลือกฟิล์มติดรถของเรานั้น สิ่งที่เรามักมองเป็นเรื่องแรกๆ เห็นจะเป็นเรื่องความทึบของฟิล์ม เพื่อกรองแสงที่เข้ามาภายในตัวรถ และรวมถึงการกรองรังสีและการกรองความร้อน ซึ่งฟิล์มติดรถที่ดีนั้นควรจะกรองได้ทั้งความร้อน แสดงแดด รวมทั้งรังสี UV แต่ก็ต้องยังคงไว้ซซึ่งทัศนวิสัยที่ดีด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็สวนทางกับสภาพอากาศประเทศไทย หากไม่ติดฟิล์มกรองแสงเพื่อกรองความร้อนแล้วหละก็ คงร้อนไม่เป็นอันเดินทางกันไปไหนแน่ๆ
ฟิล์มกรองแสงที่ดีสำหรับใช้งานกับรถ ควรมีคุณสมบัติดังนี้
- ลดความร้อนได้กี่เปอร์เซ็นต์
- แสงผ่านได้กี่เปอร์เซ็นต์
- กันรังสี UV ได้กี่เปอร์เซ็นต์
- สะท้อนแสงได้กี่เปอร์เซ็นต์
โดยฟิล์มกรองแสงนั้น มักจะมีการอ้างอิงมาตรฐานจากสถานบันต่างๆ ซึ่งสามารถดูจากสถาบันมาตรฐานที่เชื่อถือได้ดังนี้
- AIMCAL (Association of International Metallizers, Coaters and Laminators)
- ASTM (American Standard Test Method)
- ASHRAE (American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers)
ประเภทของฟิล์มนั้น มี 2 ประเภท
1. ฟิล์มย้อมสี ฟิล์มประเภทนี้จะไม่มีการใส่สารสำหรับการป้องกันรังสี UV ใดๆ จะมีคุณสมบัติก็คือเพื่อการลดแสงเท่านั้น แต่การใช้งานมักจะมีความคงทนต่ำ ใช้ไปสักพักแล้วสียังเพี้ยนไปอีกด้วย
2. ฟิล์มกรองแสง แบบลดความร้อน โดยจะมีการเคลือบสารที่เป็นโลหะเข้าไปที่ชั้นของฟิล์มด้วย ตัวฟิล์มนั้นจะมีการลดความร้อนได้ดีกว่าแบบแรก และฟิล์มประเภทนี้ยังแยกย่อยลงไปได้อีก 4 ชนิด
2.1 ฟิล์มนิรภัย จะมีความหน้าประมาณ 4 มิลลิเมตรขึ้นไป คุณสมบัติที่สำคัญก็คือการป้องกันไม่ให้กระจกแตกกระจาย ช่วยให้กระจกเกาะติดกันเวลาแตก โดยฟิล์มชนิดนี้จะมีทั้งแบบลดความร้อนและไม่ลดความร้อน
2.2 ฟิล์มอินฟาเรด จะเป็นชนิดที่ลดความร้อนได้ดีที่สุด แต่ราคาก็สูงเช่นเดียวกัน
2.3 ฟิล์มปรอท จะเป็นฟิล์มที่เคลือบด้วยโลหะ และช่วยในการลดความร้อน แต่เนื้อฟิล์มชนิดนี้จะมีการสะท้อนคล้ายๆกระจกเงา ลดความร้อนได้ค่อนข้างดี แต่อย่างไรก็ตามฟิล์มชนิดนี้จะค่อนข้างมืด ทำให้การใช้งานอาจจะเป็นอันตรายได้ในการขับขี่
2.4 ฟิล์มใสแบบนาโน จะเป็นเนื้อฟิล์มที่ค่อนข้างละเอียด และกันความร้อนได้ค่อนข้างสูง แต่แสงก็ยังผ่านเข้ามาได้กว่า 50% คุณสมบัติอื่นๆก็จะขึ้นอยู่กับชนิดของสารที่เคลือบฟิล์มอีกที และราคาก็ค่อนข้างสูง
ข้อมูล: https://auto.mthai.com/